โรงเรียนวัดบ้านหม้อ(ประชารังษี) จัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ณ อาคาร 80 ปี มีกิจกรรม เช่น ประกวดแต่งกลอนวันแม่ แข่งขันร้องเพลงอิ่มอุ่น มอบรางวัลแม่ตัวอย่างตามโครงการมองลูกสู่แม่ การแสดงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ กิจกรรมจิตอาสาของนักเรียน
มีภาพประกอบลำดับที่ 37
โปรดเลือก
โรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
บริบทของโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ยิ้ม ไหว้ ทักทายกัน ในเวียดนาม(๑-๕ ตุลาคม ๒๕๕๕)
ชุดวัฒนธรรมสำหรับผู้หญิงเวียดนาม"ชุดอาวใหญ่"
มุทิตาจิตท่าน ผอ.อนันต์ บุญแต่ง
ศึกษาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย มหาวิทยาลันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
กิจกรรมพัฒนาความพร้อมของปฐมวัย
ผลงานครูพรทนา จิรพฤฒิศิริ
รับรางวัลระดับประเทศ เกียรติบัตรสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ปี ๒๕๕๔
รางวัลสถานศึกษาดีเด่น ประจำปี 2554
ครูสอนดี "คุณครูพรทนา จิรพฤฒิศิริ"โรงเรียนวัดบ้านหม้อ ขอร่วมแสดงความยินดี
นักเรียนดีเด่น ประจำปี 2554
นักเรียนคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๕ คณะสงฆ์ภาค ๑๕ กับ ธนาคารออมสิน
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมแห่เทียนจำนำพรรษา ปี 2554 ณ วัดบ้านหม้อ
คณะนักเรียน ครู ผู้ปกครองร่วมกับจัดแห่เทียนจำนำพรรษา ปี 2554 ณ วัดบ้านหม้อ พร้อมทอดผ้าป่าสามัคคี ได้เงินจำนวน 8,090 บาท ถวายวัด ท่านพระครูสุภัทรากร มอบเงินคืนให้กับโรงเรียนวัดบ้านหม้อ(ประชารังษี) เพื่อพัฒนาโรงเรียนต่อไป
มีภาพประกอบลำดับที่ 36
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นโยบายด้านการศึกษา ของรัฐบาล
นโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ ๔ ปีของรัฐบาลชุดนี้ “นโยบายด้านการศึกษา” ได้กำหนดไว้ใน “นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต” ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย อันประกอบด้วย การยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตำราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียม กับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับชั้น โดยวัดผลจากการผ่านการทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความเสมอภาค และดำเนินการให้การศึกษาเป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอำนาจสู่พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม
๒. สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากร ทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิด ให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและ ลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา
นอกจากนี้ จะดำเนินการลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต” โดย ให้ผู้กู้เริ่มใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พักชำระหนี้ แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยปรับเปลี่ยนการชำระหนี้เป็นระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดำเนิน “โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต
๓. ปฏิรูปครู ยกฐานะให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความ สามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบาย แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการกระจายครู ขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา
๔. จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้ สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุนการสร้างรายได้ระหว่างเรียน และสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างแหล่ง งานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ โดยให้สถาบันอาชีวศึกษาดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพ รวมทั้งจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจำชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและการสร้าง ทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน
ทั้ง นี้ จะดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและสามารถมีรายได้สูง ตามความสามารถ
๕. เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยน กระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม” ที่ สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการ ศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนำร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเร่งดำเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดำเนินการตามภารกิจได้
๖. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติเพื่อสร้างทุนทาง ปัญญาและนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างรากฐาน ใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยสำหรับสาขาวิชาที่จำเป็น พัฒนาโครงสร้างการบริหารงานวิจัยของชาติโดยเน้นความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารงานวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา
๗. เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อ รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน อาชีพ และการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนวัดบ้านหม้อ(ประชารังษี)
โรงเรียนวัดบ้านหม้อ(ประชารังษี) ยินดีต้อนรับ
1.คุณครูจิตราวดี วังกานนท์ ครูชำนาญการพิเศษ
2.คุณครูฉวีวรรณ ยอดดี ครูชำนาญการ
5.คุณครูสุชาติ สุทธิโพธิ์พงษ์
ที่ได้รับคำสั่งให้ย้ายมาดำรงที่โรงเรียนวัดบ้านหม้อ
(ประชารังษี) ขอให้มีความสุขกับการทำงาน ณ สถานที่แห่งใหม่นี้
ข้อมูล
ข้าราชการครู ลำดับที่ 1 , 2 ได้รายงานตัวที่โรงเรียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2554
มีภาพประกอบลำดับที่ 39
1.คุณครูจิตราวดี วังกานนท์ ครูชำนาญการพิเศษ
2.คุณครูฉวีวรรณ ยอดดี ครูชำนาญการ
3.คุณครูตะวัน ใจ ศักดิ์ ครูชำนาญการ
4.คุณครูณัฐนิสภ์ ทองกันยา ครูชำนาญการ5.คุณครูสุชาติ สุทธิโพธิ์พงษ์
ที่ได้รับคำสั่งให้ย้ายมาดำรงที่โรงเรียนวัดบ้านหม้อ
(ประชารังษี) ขอให้มีความสุขกับการทำงาน ณ สถานที่แห่งใหม่นี้
ข้อมูล
ข้าราชการครู ลำดับที่ 1 , 2 ได้รายงานตัวที่โรงเรียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2554
มีภาพประกอบลำดับที่ 39
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)